translate

กินผักผลไม้เพื่อสุขภาพ แต่กลับเจอแต่สารเคมี กินผักอย่างไรให้ปลอดภัย

การเพาะปลูกในปัจจุบันมีการใช้ยาฆ่าแมลงกันอย่างแพร่หลาย อาหารที่เรากันกันแต่ละวันประกอบไปด้วยสารเคมีกันทั้งนั้น สารเคมีที่ว่าคืออะไร แล้วควรเลือกผักอย่างไรจึงจะปลอดภัย และจะล้างผักอย่างไรจึงจะสะอาดวันนี้มีเทคนิคมาฝาก

ข้อมูลขององค์การด้านสิ่งแวดล้อมไม่แสวงผลกำไรของสหรัฐอเมริกาชื่อ Environmental Working Group(EWG) บอกว่า การกินผักผลไม้ที่มีสารเคมีปนเปื้อนในแต่ละวัน จะทำให้ร่างกายมีโอกาสได้รับสารเคมีถึง 15 ชนิด โดยประมาณ 38% ของยาฆ่าแมลงทั้งหมด เป็นสารเคมีกลุ่มออกแกโนฟอสเฟต สารเคมีกลุ่มนี้มีผลกต่อการทำงานของระบบประสาทและสมองของแมลง ในขณะเดียวกันก็เป็นอันตรายต่อระบบประสาทและสมองของคนเช่นกัน สารเคมีบางชนิดในผักไปยับย้งการทำงานของเอนไซม์สำคัญ กระตุ้นระบบประสาทและกล้ามเนื้อให้ทำงานมากเกินไป ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและเป็นอัมพาต นอกจากนี้ยังมีสารเคมีอื่นๆอีก เช่น สารโฟโนฟอส สารไดอะซีนอน ไดซัลโฟตอน และอะซินฟอส-เมทธิล

การหลีกเลี่ยงสารเคมีในผักมีได้หลายวิธี

  • ปลูกผักสวนครัวเอง โดยงดใช้สารเคมีในการเพาะปลูก หรือใช้ยากำจัดศัตรูพืชที่เป็นส่วนผสมจากธรรมชาติ นอกจากจะปลอดภัยจากสารเคมีแล้วยังได้ผักที่สด และประหยัดอีกด้วย
  • เลือกซื้อผักที่เป็นผักออแกนิค หรือผักที่ใช้สารพิษน้อย แม้ว่าราคาของผักปลอดสารพิษจะแพง แต่ก็คุ้มค่ากับสุขภาพแน่นอน
  • ปอกผลไม้ก่อนรับประทาน การปอกเปลือกหรือการลอกชั้นนอกของผักออก เช่น กะหล่ำปลี ถ้าลอกใบชั้นนอกออกจะปลอดภัยมากกว่า แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดจะช่วยลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 27-72 เลยทีเดียว 
  • การล้างผลไม้และผัก มีหลายวิธี เช่น 
    • การใช้น้ำส้มสายชูที่มีกรดน้ำส้มความเข้มข้น 5% ผสมน้ำในอัตราส่วน 1:10 แช่นาน 10-15 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด สามารถลดปริมาณสารพิษลงร้อยละ 60-84 ข้อจำกัดคือ ผักอาจมีกลิ่นของน้ำส้มสายชูติดมา และผักบางอย่างเช่นผักกาดขาว ผักกาดเขียว อาจมีการดูดรสเปรี้ยวจากน้ำส้มสายชูทำให้รสชาติเปลี่ยนไป และภาชนะที่ใส่ผักล้างไม่ควรเป็นพลาสติก
    • การใช้ด่างทับทิม (Potassium Permanganate) มีลักษณะเป็นเกล็ดแข็ง สีม่วง สามารถละลายได้ในน้ำ ให้สีชมพู หรือม่วงเข้ม เป็นสารประกอบประเภทเกลือ โดยใช้ปริมาณ 20-30 เกล็ด ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่ไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดสามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 35-43 ข้อจำกัดคือการใช้ด่างทับทิมในปริมาณที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร และหากสูดดมไอระเหยของด่างทับทิมเข้าไปมากก็จะทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหาได้ รวมถึงหากเข้าตาอาจทำให้ตาบอดได้
    • ล้างผักโดยน้ำไหลผ่าน โดยเด็ดผักเป็นใบๆ ใส่ตะแกรงโปร่งเปิดน้ำให้แรงพอประมาณ ใช้มือช่วยคลี่ใบผักและถูไปมาบนผิวใบของผักผลไม้นานประมาณ 2 นาที สามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 25-63วิธีนี้เป็นวิธีที่เรียกได้ว่าดีมากวิธีหนึ่งแต่มีข้อเสียอยู่ว่าใช้เวลานานในการล้างและใช้น้ำปริมาณมาก
    • ใช้เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 4 ลิตร แช่นาน 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดสามารถลดสารพิษลงได้ร้อยละ 27-38 วิธีการนี้ลดปริมาณได้ไม่มากและอาจมีเกลือและรสเค็มไปอยู่ในผักหรือผลไม้
    • ใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบกกิ้งโซดา) 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง (20 ลิตร) แช่นาน 15 นาที แล้วนำไปล้างด้วยน้ำสะอาด ลดปริมาณสารพิษลงได้ถึงร้อยละ 90-95 ข้อจำกัดของการใช้เบกกิ้งโซดาคือมีส่วนผสมของโซเดียมอยู่และอาจดูดซึมเข้าสู่ผักหรือผลไม้ และหากล้างไม่สะอาดการได้รับเบกกิ้งโซดาในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้ท้องเสียได้
    • วิธีการแช่ผักในน้ำยาล้างผักที่มีวางขายอยู่โดยใช้ความเข้มข้นประมาณ 0.3% ในน้ำ 4 ลิตร แช่ผักนานประมาณ 15 นาที จะลดปริมาณสารพิษฆ่าแมลงได้ร้อยละ 25-70 แต่วิธีนี้ต้องทำด้วยความระมัดระวังต้องดูให้ดีว่าน้ำยาล้างผักมีส่วนประกอบด้วยอะไรบ้าง เพราะในบางครั้งน้ำยาล้างผักจะแทรกซึมเข้าไปในผักซึ่งอาจเป็นอันตรายได้
  • วิธีการต้มหรือลวกผักด้วยน้ำร้อน ลดปริมาณสารพิษได้ ประมาณร้อยละ 50 วิธีการนี้เป็นอีกวิธีที่ดีและปลอดภัยแต่จะทำให้ผักหรือผลไม้ เสียคุณค่าทางอาหารไปกับน้ำและความร้อน เช่น วิตามินซี วิตามินบี 1 ไนอะซิน

  • การปอกเปลือกหรือการลอกชั้นนอกของผักออก เช่น กะหล่ำปลี ถ้าลอกใบชั้นนอกออกจะปลอดภัยมากกว่า แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดจะช่วยลดปริมาณสารพิษได้ร้อยละ 27-72 
นอกจากนั้นผลงานวิจัยยังบอกด้วยว่า ผลไม้และผักแต่ละชนิดมีสารเคมีปนเปื้อนมากน้อยแตกต่างกัน เช่น ในแอปเปิล สตรอเบอรี่ องุ่น ผักโขม ผักชีฝรั่ง แตงกวา พริกไทย มะเขือเทศ มีสารเคมีปนเปื้อนมากกว่าข้าวโพด หอมใหญ่ สับปะรด มะระกอ มะม่วง ส้มโอ และแคนตาลูป เป็นต้น 

ดังนั้น หากท่านต้องการทานผักและผลไม้โดยได้รับประโยชน์แบบไม่มีโทษแอบแฝงก็ควรจะล้างผัก ล้างผลไม้อย่างถูกต้อง และเลือกผักปลอดภัยจากสารเคมีด้วยนะคะ #จบบทความนี้ขอให้ทุกท่านกินผักให้ปลอดภัยนะคะ






0 ความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก

Tags

Link list