translate

ทำความเข้าใจกับประกันภัยรถยนต์

ในยุคปัจจุบันรถยนต์ส่วนตัวมีความจำเป็น ดังนั้นหลายๆบ้านจึงมีรถยนต์ส่วนตัวเพื่อความสะดวกสบาย แต่พอถึงเวลาครบกำหนดที่จะต้องต่อ พ.ร.บ. และต่อประกันภัยรถยนต์ หลายคนก็ต้องกุมขมับกับเงินไม่น้อยที่ต้องเสียไปกับค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้ แล้วประกันภัย และพ.ร.บ.เหล่านี้มันเป็นยังไง แล้วทำไมต้องเสียเงินกับมัน สำหรับหัวข้อนี้เราจะกัยกันถึงเรื่อง ประกันภัยรถยนต์ และ พรบ.รถยนต์ กันค่ะ

พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กำหนดให้รถทุกประเภทต้องจัดให้มีการประกันภัยเพื่อให้ความคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนทุกคน ซึ่งได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย เพราะเหตุประสบภัยจากรถซึ่งจะต้องเป็นการรับผิดตามกฎหมายและมีการชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งอาจจะเป็นจำนวนเงินที่ไม่แน่นอน ความเสี่ยงภัยเหล่านี้จะลดภาระและความเดือดร้อนทางการเงินให้กับผู้เอาประกัน(ผู้ซื้อประกัน)ได้ ด้วยการทำประกันภัย

ประกันภัยรถยนต์มี 2 ประเภท คือ
  • การประกันภัยภาคบังคับ หรือที่เราเรียกกันว่า ประกันภัย พ.ร.บ. เป็นประกันภัยที่กฎหมายบังคับให้คนทุกคัน ทุกประเภทต้องทำ เพื่อให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือแก่ประชาชนผู้ประสบภัยจากรถ และเป็นหลักประกันแก่สถานพยาบาลทุกแห่งว่าได้รับค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ให้การรักษาแก่ผู้ประสบภัยจากรถแน่นอน

  • ประกันภัยภาคสมัครใจ เป็นการประกันภัยรถยนต์ซึ่งเป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อหรือผู้เอาประกัน กับผู้ขายหรือบริษัทประกันภัย โดยเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความต้องการที่เหมาะสมของผู้เอาประกันภัย ปัจจุบันมีบริษัทที่ขายประกันภัยรถยนต์มากมาย ดังนั้นผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลเพื่อทำการตัดสินใจ 
การเลือกซื้อประกันภัย เลือกอย่างไร
  • เลือกบริษัทที่มีฐานะทางการเงินมั่นคง คุณคงไม่อยากเจอหัวเสียกับปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะบริษัทประกันปิดตัวล้มไปเฉยๆ ทั้งๆที่เราตั้งใจฝากความปลอดภัยไว้ที่เค้า ดังนั้นก่อนซื้อประกันต้องเช็คเครดิตกันสักนิดนะคะ
  • เลือกนายหน้าประกันที่เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาติจากนายทะเบียนเท่านั้น การจะเช็คว่านายหน้าคนนั้นไม่ใช่นายหน้าจอมปลอมสามารถทำได้ง่ายๆ โดยการเช็คในเวปไซต์ www.oic.or.th หรือที่ คปภ. 
  • เมื่อจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยแล้วต้องขอรับใบเสร็จ หรือเอกสารที่แสดงการรับเงินทุกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐาน และผู้เอาประกันจะต้องได้รับหลักฐานแสดงการประกันภัยตาม พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เพื่อใช้สำหรับการจดทะเบียนใหม่ หรือขอเสียภาษีประจำปีต่อนายทะเบียนขนส่ง ปกติบริษัทประกันภัยจะต้องส่งกรมธรรม์ประกันภัยให้ภายใน 15 วัน หลังจากชำระเบี้ประกัน
  • ต้องศึกษาเงื่อนไขกรมธรรน์ให้ละเอียดก่อนการตัดสินใจซื้อทุกครั้ง

แค่หลักการง่ายๆที่ต้องปฎิบัติก่อนการซื้อประกัน แค่นี้ท่านก็สามารถได้ประกันภัยที่ไม่หลอกลวง ไม่ต้องหัวเสียทีหลังแล้วค่ะ และแล้วเรื่องประกันภัยรถยนต์ และ พรบ.รถยนต์ก็เป็นเรื่องง่ายๆแล้วค่ะ

0 ความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก

Tags

Link list