translate

การทำพาสปอร์ต (Passport) ,สถานที่ทำพาสปอร์ต และการแก้ไขพาสปอร์ต



         หนังสือเดินทาง (Passport) เป็นเอกสารสำคัญสำหรับบุคคลที่จะเดินทางไปต่างประเทศโดยในหนังสือเดินทางจะมีการระบุข้อมูล อาทิ ชื่อผู้เดินทาง ลายมือชื่อรูปถ่าย อายุ สัญชาติ ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกและใช้เป็นหลักฐานในการขอหนังสือลงตราหรือที่เรียกกันว่าวีซ่า (Visa) 



หนังสือเดินทางนั้นมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ 

          หนังสือเดินทางฑูต (Diplomatic) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับนักการทูต และข้าราชการการเมือง เพื่อใช้เดินทางไปราชการต่างประเทศเท่านั้น มีสีแดงสด 

          หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport) เป็นหนังสือเดินทางสำหรับข้าราชการ สำหรับเดินทางไปราชการนั้น ๆ เป็นเล่มสีน้ำเงิน 

          หนังสือเดินทางยกเว้นค่าธรรมเนียม (Gratis)เป็นหนังสือเดินทางสำหรับข้าราชการเกษียณอายุ, พนักงานของรัฐและข้าราชการที่จะเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศโดยทุนส่วนตัวหรือไปฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ จะป็นเล่มสีน้ำตาล 

          หนังสือเดินทาง (Passport)เป็นหนังสือเดินทางสำหรับประชาชนทั่วไป หรือข้าราชการ และพนักงานของรัฐก็สามารถใช้ในกรณีที่เดินทางไปต่างประเทศด้วยกิจธุระส่วนตัวตัวเล่มจะใช้สีเลือดหมู 

          อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.2548 เป็นต้นมา กรมการกงสุล กระทรวงต่างประเทศได้เปลี่ยนหนังสือเดินทางธรรมดามาเป็น "หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์" หรือ "E-passport"แล้ว ซึ่งเป็นหนังสือเดินทางที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิคตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)ซึ่งแตกต่างจากหนังสือเดินทางแบบเดิม ดังนี้ 

           มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (biometric data)  ได้แก่ รูปใบหน้า และ/หรือลายนิ้วมือ และ/หรือ ม่านตา ไว้ใน Contactless Integrated Circuitซึ่งฝังอยู่ในเล่มหนังสือเดินทาง

           มีการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของหน้งสือเดินทาง


หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ดีกว่าหนังสือเดินทางแบบเดิมอย่างไร

           สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้สูง  เป็นมาตรการสำคัญในการสกัดกั้นขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติ การลักลอบเข้าเมือง ฯลฯ

           สามารถตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลได้แม่นยำและรวดเร็ว  อำนวยความสะดวกต่อการเดินทาง  การเข้าเมือง และส่งเสริมการท่องเที่ยว

           เสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ ทำให้หนังสือเดินทางไทยมีความน่าเชื่อถือและได้รับการยอมรับในระดับสากลยิ่งขึ้นส่งผลต่อเนื่องทางบวกด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวของประเทศ


เอกสารที่ต้องใช้ในการทำหนังสือเดินทาง (Passport)

         สำหรับการขอทำหนังสือเดินทางสำหรับประชาชนทั่วไป ที่อายุเกิน 20ปีขึ้นไปแล้ว จะต้องเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอทำหนังสือเดินทาง ดังนี้

           บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งานหรือ บัตรข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง(ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย) 

           หากมีรายการแก้ไขชื่อสกุล หรือวันเดือนปีเกิด ฯลฯ ซึ่งไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย เช่น หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ

           การทำหนังสือเดินทางใหม่ ต้องเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท 


 กรณีที่ผู้ยื่นขอเป็นผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ก็จะมีรายละเอียดเอกสารที่ต่างออกไป ดังนี้ 

           สูติบัตรฉบับจริง หากเป็นฉบับสำเนาก็ต้องได้รับการรับรองจากเขตหรืออำเภอ 

           บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งานหรือ บัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ของบิดา มารดาหรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง และหากชื่อ-นามสกุล บิดา มารดาในสูติบัตรไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชนให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วยในกรณีที่มารดาหย่าและจดทะเบียนสมรสใหม่และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย 

           หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ และบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดา มารดา ในกรณีที่บิดา/มารดาหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถมาแสดงตัวได้ 

           เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิหลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่าซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาหรือมารดา เป็นต้น 

           การทำหนังสือเดินทางใหม่ ต้องเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท 

           ส่วนในกรณีต่าง ๆ เช่น กรณีบิดา มารดา ของผู้เยาว์เสียชีวิต,กรณีที่บิดา มารดาของผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติที่มิได้จดทะเบียนสมรส,กรณีที่ไม่สามารถตามหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้,รณีบิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาตลอด และไม่สามารถตามหามารดาได้ซึ่งกรณีเหล่านี้ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครองพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดงด้วย 


 กรณีหากเป็นผู้เยาว์ที่อายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ก็สามารถขอทำหนังสือเดินทางด้วยตัวเองได้โดยใช้เอกสาร ดังนี้ 

           บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทย 

           หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอหรือเขต และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครองพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง 

           เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุลเอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรมใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรสทะเบียนหย่า ทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลกรณีระบุผู้มีอำนาจปกครองแทนบิดามารดาเป็นต้น 

           เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท 







ขั้นตอนการขอหนังสือเดินทาง

           1. รับบัตรคิว

           2.ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก (หากไม่มีเลข 13 หลักต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่จำเป็นเพื่อตรวจสอบข้อมูล

           3.ในการทำหนังสือเดินทางจะมีการเก็บข้อมูลทางชีวภาพ คือ มีการวัดส่วนสูงเก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้าย และนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์และถ่ายรูปใบหน้า

           4.แจ้งความประสงค์ว่าจะมารับหนังสือเดินทางด้วยตัวเอง หรือต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์

           5.ชำระค่าธรรมเนียมการทำหนังสือเดินทาง 1,000 บาทหากต้องการให้จัดส่งทางไปรษณีย์ จะต้องชำระค่าส่งไปรษณีย์ เพิ่มเติมอีก 40 บาท จากนั้นรับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม     



เมื่อไหร่จะได้รับหนังสือเดินทาง           
กรณียื่นขอทำหนังสือเดินทางที่กรมการกงสุล หรือสำนักงานสาขาในกรุงเทพฯคือที่ปิ่นเกล้า และบางนา จะสามารถรับหนังสือเดินทางได้ภายใน 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง และหากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ(ไม่รวมวันเสาร์-อาทิตย์)      กรณียื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัดหนังสือเดินทางจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์เท่านั้น โดยจะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 5 วันทำการ ไม่นับวันยื่นคำร้องและวันเสาร์-อาทิตย์


หลักฐานที่ใช้ประกอบการรับหนังสือเดินทาง

กรณีรับด้วยตัวเอง
           
1.บัตรประชาชนตัวจริงของผู้รับ           
2.ใบรับหนังสือเดินทาง   
       
กรณีมอบหมายให้ผู้อื่นมารับแทน           
1.บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ถือหนังสือเดินทาง           
2.บัตรประชาชนตัวจริงของผู้รับแทน           
3.ใบรับหนังสือเดินทางที่ลงนามมอบอำนาจแล้ว


หนังสือเดินทางหาย ทำอย่างไร

          
  กรณีที่ทำหนังสือเดินทางสูญหายในประเทศต้องติดต่อแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและรับใบแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อมายื่นขอทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่และยกเลิกการใช้งานหนังสือเดินทางฉบับที่สูญหาย 

           กรณีที่ทำหนังสือเดินทางสูญหายในต่างประเทศต้องแจ้งความหนังสือเดินทางสูญหายต่อทางการท้องถิ่นและนำใบรับแจ้งความดังกล่าวนั้นพร้อมเอกสารแสดงการมีสัญชาติไทยของตนหรือเอกสารทะเบียนราษฎรที่มีอยู่ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้านฯลฯ ไปติดต่อที่สถานทูต สถานกงสุลไทยที่ใกล้ที่สุดเพื่อขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ 

           กรณีที่ทำหนังสือเดินทางสูญหายในต่างประเทศแล้วต้องการเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการเร่งด่วน ไม่สามารถรอรับหนังสือเดินทางได้ สถานทูตสถานกงสุลจะออกเอกสารเดินทาง(Certificate of Identity) ให้ใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้ครั้งเดียวเมื่อกลับถึงประเทศไทยแล้วเอกสารเดินทางจะหมดอายุการใช้งานทันที 


วันเวลา และสถานที่ที่สามารถติดต่อทำหนังสือเดินทางได้ 

กรมการกงสุล 

123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 
          โทรศัพท์ 0-2981-7171-99 , 0-2981-7257-8 
          โทรสาร 0-2981-7256 
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.00-15.30 น. 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า 

อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์ (ชั้นใต้ดิน) แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม.10700 
          โทรศัพท์ 0-2446-8111-2 โทรสาร 0-24468118-9 
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.30-15.30 น. 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา 

ศูนย์การค้าเซ็ลทรัลซิตี้ บางนา บริเวณลานจอดรถ ชั้น P9 
          โทรศัพท์ 0-2383-8401-3 โทรสาร 0-2383-8398 
          วันจันทร์-ศุกร์ 08.30-15.30 น. 

สำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์บริการการไปทำงานต่างประเทศ

อาคารประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ดินแดง กทม.
          โทรศัพท์ 0-2245-9439 โทรสาร 0-2245-9438   

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดขอนแก่น 

ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ จังหวัดขอนแก่น 
          โทรศัพท์ 0-4324-2707,0-4324-3462,0-4324-2655 
          โทรสาร 0-4324-3441  

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงใหม่ 

ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 
        โทรศัพท์ 0-5389-1535-6 โทรสาร 0-5389-1534 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสงขลา 

ศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) ชั้น 1 ถนนราชดำเนิน อ.เมือง จ.สงขลา 9000 
        โทรศัพท์ 0-7432-6510-1 โทรสาร 0-7432-6506 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุบลราชธานี 

อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด 
          โทรศัพท์ 0-4524-2313-4 โทรสาร 0-4524-2301 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
          โทรศัพท์ 077-274940, 077-274942-3 โทรสาร 077-274941

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดนครราชสีมา

ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
          โทรศัพท์ 044-243-132, 044-243-124 โทรสาร 044-243-133

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุดรธานี

ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี (ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง) ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000 
          โทรศัพท์ 042-212827, 042-212-318 โทรสาร 042-222-810

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดพิษณุโลก

ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ถนนเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000
          โทรศัพท์ 055-258-173, 055-258-155, 055-258-131, โทรสาร 055-258-117
     
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดยะลา

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
          โทรศัพท์ 073-274-526, 073-274-036, 073-274-037 โทรสาร 073-274-527

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดภูเก็ต

ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ถนนนริศร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000
          โทรศัพท์ 076-222-080, 076-222-081, 076-222-083 โทรสาร 076-222-082 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เมืองพัทยา

ศูนย์การค้า ดิ อเวนิว ชั้น 1 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
          โทรศัพท์ 038-422437 โทรสาร 038-422438

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดนครสวรรค์

ศูนย์บริการร่วมจังหวัดนครสวรรค์ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ถนนพหลโยธิน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 60000
          โทรศัพท์ 056-233-453, 056-233-454 โทรสาร 056-233-452 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดจันทบุรี

อาคารลานค้าชุมชน ถ.เลียบเนิน ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000
          โทรศัพท์ 039-301-706-9



การแก้ไข / ยกเลิก / ทำลาย หนังสือเดินทาง
และคำแนะนำในการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์


การแก้ไขหนังสือเดินทาง 

     หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงชื่อ-นามสกุล หรือข้อมูลบุคคลได้ ทั้งนี้เนื่องจากตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)  การเขียนข้อมูลในไมโครชิพทำได้เพียงครั้งเดียว และไม่สามารถนำข้อมูลที่แก้ไขเขียนเพิ่มใน ไมโครชิพ อย่างไรก็ดี  หากเป็นการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่ไม่ได้จัดเก็บในไมโครชิพสามารถบันทึกการแก้ไขในเล่มได้ 2 กรณี ได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงลายเซ็น และ
2. การบันทึกรับรองการถือหนังสือเดินทางเล่มเดิมเนื่องจากเล่มเดิมมีวีซ่าที่ยังมีอายุใช้งานแทนการผนวกเล่ม 

ค่าธรรมเนียม 
 ค่าธรรมเนียมรายการละ 100 บาท

การแก้ไขข้อมูลหนังสือเดินทางและนิติกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับหนังสือเดินทาง

ประเภทนิติกรณ์
และการแก้ไข
ประเภทหนังสือเดินทางเอกสารประกอบ
แบบเก่าe-passport
(เริ่มผลิต ส.ค. 2548)

1.การต่ออายุหนังสือเดินทาง

ทำไม่ได้

ทำไม่ได้
                 
                ไม่มี

2. การเพิ่มหน้า
(หมายเหตุ: สถานเอกอัครราชทูตหลายประเทศไม่ประทับตรา visa ในใบเพิ่มหน้า)

ทำได้

ทำไม่ได้

1) หนังสือเดินทางเล่มเดิม พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่าย และหน้าที่เคยมีการต่อายุ/แก้ไข(ถ้ามี)
2) บัตรประชาชน หรือสูติบัตร ของผู้ร้องพร้อมสำเนา

3. การขอแก้ไข
    ชื่อ/นามสกุล/คำนำหน้า
   (หมายเหตุ: ผู้ร้องต้องมาเซ็นชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่)

ทำได้



ทำไม่ได้



1) หนังสือเดินทางเล่มเดิม พร้อมสำเนา
2) ใบรับรองการเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล/คำนำหน้า หรือทะเบียนสมรส(แล้วแต่กรณี)พร้อมสำเนา
    หากเป็นกรณีหญิงไทยสมรสกับชาวต่างชาติ จะต้องแนบสำเนาหนังสือเดินทางของคู่สมรสที่เป็นชาวต่างชาติมาด้วย
3) บัตรประชาชน หรือสูติบัตร พร้อมสำเนา
4) ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา (กรณีใช้บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกรณีผู้เยาว์ที่ยังไม่มีบัตรประชาชน) 

4. การเปลี่ยนแปลงลายเซ็น
   (หมายเหตุ: ผู้ร้องต้องมาเซ็นชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่)


ทำได้



ทำได้


1) หนังสือเดินทางเล่มที่ต้องการแก้ไข พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่าย และหน้าที่เคยมีการต่ออายุ/แก้ไข(ถ้ามี)
2) บัตรประชาชน หรือสูติบัตร พร้อมสำเนา 

5. การรับรองการถือหนังสือเดินทางเล่มเดิมในหนังสือเดินทางเล่มใหม่เนื่องจากเล่มเดิมมีวีซ่าที่ยังมีอายุใช้งานแทนการผนวกเล่ม

ทำได้

ทำได้

1) หนังสือเดินทางเล่มใหม่
2) หนังสือเดินทางเล่มเดิมที่วีซ่ายังมีอายุใช้งานอยู่ พร้อมสำเนาหน้าที่มีรูปถ่าย และหน้าที่มีวีซ่าที่ยังมีอายุใช้งาน(ถ้ามี) และหน้าที่เคยมีการต่ออายุ/แก้ไข(ถ้ามี)
3) ใบเปลี่ยนชื่อ นามสกุล หรือทะเบียนสมรส พร้อมสำเนา(กรณีหนังสือเดินทางทั้งสองเล่มมีชื่อ นามสกุล ไม่ตรงกัน)
4) บัตรประชาชน หรือสูติบัตร พร้อมสำเนา

การยกเลิกหนังสือเดินทาง

     กองหนังสือเดินทางจะยกเลิกหนังสือเดินทางฉบับเก่าเมื่อผู้ขอได้รับหนังสือเดินทางฉบับใหม่แล้ว  จึงขอให้นำหนังสือเดินทางเล่มเก่าที่ยังมีอายุใช้งานมายกเลิกเล่มในวันที่ยื่นขอเล่มใหม่ หรือในวันที่รับเล่มใหม่   ในกรณีขอรับเล่มทางไปรษณีย์ และยื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัด ขอให้นำเล่มเดิมมายกเลิกในวันที่ยื่นคำร้องด้วย หนังสือเดินทางที่ประทับตรายกเลิกเล่มแล้ว จะคืนผู้ร้องเก็บไว้เป็นหลักฐานต่อไป

การทำลายหนังสือเดินทาง 

     หากผู้ยื่นขอหนังสือเดินทางไม่มารับเล่มตามกำหนดภายใน 90 วัน กองหนังสือเดินทางขอสงวนสิทธิ์ในการทำลายหนังสือเดินทางนั้น

คำแนะนำในการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์

   1. ห้ามขีด เขียน แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายในเล่มหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
   2. ห้ามแกะ ตัด เย็บ เจาะรู หรือกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้ปกหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้รับความเสียหาย
   3. ห้ามตัด งอ บิด หรือกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ยับย่น หรือ เปลี่ยนรูปไปจากเดิม
   4. ไม่ควรเก็บหนังสือเดินทางไว้ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก หรือสนามไฟฟ้าสูง และบริเวณที่มีคลื่นความถี่วิทยุ เช่นโทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือไมโครเวฟ
   5. หลีกเลี่ยงการวางวัตถุสิ่งของที่มีน้ำหนักมากบนหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์
   6. ควรเก็บหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ไว้ในห้องที่แห้ง อากาศเย็น ไม่อับชื้น
   7. หลีกเลี่ยงการนำหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าใกล้วัตถุที่มีความร้อนซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส สถานที่มีแสงแดดส่องถึงได้เป็นเวลานาน สถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เปียกแฉะ สัมผัสน้ำ หรือสถานที่ใกล้สารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งสถานที่ที่มีฝุ่นละออง
   8. กระทรวงต่างประเทศจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ อันเนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น

ขอขอบคุณ kapook.com , และ consular.go.th

0 ความคิดเห็น:

คลังบทความของบล็อก

Tags

Link list