translate

ตรวจรับคอนโด


คอนโด

         โดยทั่วไปแล้วเราจะใช้เรียกคอนโดมิเนียม ว่า "อาคารชุด" โดยหมายถึงอาคารที่มีการแยกกรรมสิทธิ์การถือครองออกเป็นส่วนๆ  ซึ่งโดยแต่ละส่วนนั้นจะประกอบด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนบุคคล และกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์ส่วนกลาง  ทรัพย์ส่วนบุคคล คือ ตัวห้องชุด    ทรัพย์ส่วนกลาง คือ  ส่วนอื่นๆ ในอาคาร ได้แก่ พื้นดินที่คอนโดนั้นตั้งอยู่ ลิฟต์ บันได ทางเดิน ดาดฟ้า  สระว่ายน้ำ  ฟิตเนส  ที่จอดรถ สำนักงานนิติบุคคล ฯลฯ  ดังนั้น คอนโดมิเนียมจึงแตกต่างจาก แมนชั่นและอพาร์ทเมนท์     ตรงการถือกรรมสิทธิ์ เนื่องจากแมนชั่นและอพาร์ทเมนท์ ไม่ได้แยกกรรมสิทธิ์การถือครองแบบคอนโด เนื่องจากอาคารพักอาศัยดังกล่าวสร้างมาเพื่อมุ่งเน้นให้เช่าโดยเฉพาะ  (ไม่เหมือนคอนโดมีเนียม ซึ่งมีทั้งขายและให้เช่า)   นอกจากนี้ แมนชั่นและอพาร์ทเมนท์  ก็มีเจ้าของคนเดียว คือเจ้าของ อพาร์ทเมนท์หรือแมนชั่น คนที่ไปอยู่ในนั้นคือ ไปเช่าเขาอยู่ ไม่มีสิทธิ์ไม่มีเสียงจะทำอะไรได้ ต่างกับคอนโดมีเนียมซึ่งมีเจ้าของห้องแต่ละคน หลากหลายอาชีพ หลากหลายเพศและวัย


ข้อแนะนำเบื้องต้นก่อนตรวจรับ
1. เน้นดูเป็นเรื่องๆ หรือเรียงเป็นห้องๆ ไป - เนื่องจากรายละเอียดที่ต้องดูในบ้านจะค่อนข้างมาก ขอแนะนำให้เน้นดูเป็นเรื่องๆ หรือไล่เป็นห้องๆ ให้จบไป พอเสร็จเรื่องหนึ่ง หรือห้องหนึ่ง เราก็เน้นดูเรื่องหรือห้องต่อไป เช่น เมื่อเดินเข้าห้องก็เริ่มเน้นไปที่ประตูก่อนเลย แล้วไล่ตรวจประตูทุกบานในบ้าน จากนั้นเน้นดูระบบไฟฟ้าต่อ ไล่ดูทุกปลั๊กไฟ ทดสอบไฟทุกดวง เป็นต้น หรือไล่ดูทุกเรื่องในห้องนั่งเล่นก่อน เมื่อเสร็จแล้วค่อยเข้าไปดูห้องนอน เป็นต้น ถ้าไล่ดูแบบนี้จะทำให้เราไม่ลืม หรือหลุดบางเรื่อง ยิ่งในทางปฏิบัติ เวลาตรวจรับ จะมีเจ้าหน้าที่โครงการมาชวนคุยหรือเดินไปเดินมาอยู่ข้างๆ เรา อาจทำให้เราลืม คุยเพลิน หรือมองข้ามเรื่องบางเรื่องได้

2. อย่าเชื่อเจ้าหน้าที่ - ปกติแล้ว เจ้าหน้าที่โครงการก็อยากให้มีการโอนบ้านให้มากที่สุด เร็วที่สุด และแก้งานน้อยที่สุด ดังนั้นผลประโยชน์ของเจ้าหน้าที่จึงขัดกับเราผู้ซื้อที่ต้องการได้บ้านที่ดีที่สุด ดังนั้น ถ้าเขาพูดอะไรเราคงต้องใช้หลักเหตุผลไตร่ตรองกันอีกทีนะครับ นอกจากนี้ เราควรตรวจสอบรายการแก้ไขที่เจ้าหน้าที่โครงการจดด้วยว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ และขอสำเนารายการพวกนี้เก็บไว้สำหรับการตรวจรอบต่อไปด้วย ทางที่ดี หาคนที่พอรู้เรื่องการตรวจรับไปเป็นเพื่อนก็จะดีเพื่อช่วยกันดู ช่วยกันจด และตรวจเช็คความถูกต้องพวกนี้ครับ

 3. ถ่ายรูปไว้ให้หมด - เนื่องจากบางทีรายการที่ต้องแก้ไขมีมาก จึงควรถ่ายรูปเก็บไว้ว่าก่อนแก้ไขเป็นอย่างไร และหลังจากแก้ไขแล้วให้เปรียบเทียบกับรูปที่ถ่ายไว้ จะได้เห็นความแตกต่างชัดเจน และดูว่าทางโครงการได้แก้ไขอะไรให้เราหรือไม่ อย่างไร และควรชวนเพื่อนหรือญาติพี่น้องไปช่วยกันดู หรือถ่ายรูปด้วย หลายตาย่อมดีกว่าตาเดียวอยู่แล้วครับ

 4. โอนแล้วอาจแก้ยากหรือใช้เวลา - ถ้าเป็นไปได้ควรโอนบ้านหลังจากแก้ไขจุดบกพร่องทั้งหมดเสร็จแล้ว เพราะถ้าเราลงนามรับบ้าน และตกลงไปโอนกับโครงการแล้ว ต้องยอมรับเลยว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ความกระตือรือร้นของเจ้าหน้าที่โครงการที่จะช่วยท่านแก้ไขข้อบกพร่องอาจลดลงทันที หรือถ้าเจอเจ้าหน้าที่ดีๆ ก็อาจไม่ลดลง แต่เขาอาจจะไปให้ความสำคัญกับงานที่ต้องโอนสำหรับบ้านต่อไป ดังนั้น เวลาที่เขาจะช่วยเหลือ หรือตามงานให้ท่านอาจน้อยลงไปเองโดยปริยาย

5. ไม่ควรตรวจตอนกลางคืน - ถ้าเป็นไปได้ ควรตรวจสอบระหว่างวัน เช่น ตอนเช้า หรือตอนบ่าย เพื่อที่เราจะได้มีเวลาดูได้เต็มที่ และในตอนกลางคืน แสงสว่างอาจไม่พอ หรือแสงจากหลอดไฟอาจหลอกตา จะทำให้เราอาจไม่เห็นข้อบกพร่อง หรืองานปูน หรืองานกำแพงบางอย่างที่ไม่ดีได้ นอกจากนี้การตรวจพื้นที่นอกตัวบ้านในตอนกลางคืน จะทำได้ค่อนข้างยาก และไม่สะดวกเท่าที่ควร

6. ไม่เสร็จจริง ไม่ต้องตรวจ - หากโครงการโทรมาให้ท่านไปตรวจโดยบอกว่าบ้านเสร็จแล้ว และ Quality Control (QC) ของโครงการได้ตรวจสอบหมดแล้ว แต่พอไปตามนัด พบว่าบ้านไม่อยู่ในสภาพที่สร้างเสร็จจริง หรือตรวจหมดแล้วโดย QC จริง ท่านมีสิทธิ์ปฏิเสธไม่ตรวจเลยในวันนั้นได้ และย้ำกับเจ้าหน้าที่ว่า ถ้าบ้านไม่เสร็จแบบเรียบร้อยตามมาตรฐาน QC จริง ไม่ต้องนัดหมายมาให้ตรวจเลย เพราะในทางปฏิบัติ บางโครงการมีการโยนภาระหน้าที่การ QC มาให้ลูกบ้าน แทนที่ตัวเองจะ QC ให้เรียบร้อยก่อน




ตัวอย่างการตรวจรับคอนโด 

 

ส่วนของพื้น   แยกเป็นพื้นเปียก   พื้นกระเบื้อง (แกรนิตโต้ต่าง ๆ )   และพื้นแห้ง (ลามิเนตหรือ engineering wood) 

พื้นที่เปียก
 สิ่งที่จะทดสอบ 
     -การระบายน้ำ 
     -การขังน้ำ 
โดยตรวจโดยเปิดน้ำให้น้ำท่วมแล้วระบายออกเร็วหรือเปล่า ระนาบพื้นโอเคหรือเปล่า เปิดทิ้งไว้แล้วค่อยไปตรวจอย่างอื่นก่อนแล้วค่อยกลับมาดูว่าน้ำขังหรือเปล่านะครับ ซึ่งบางทีน้ำมันอาจไม่ระบายเนื่องจากมีเศษกระเบื้อง / ปูนค้างอยู่ในท่อ   อันนี้ต้องให้ช่างเอาเศษต่าง ๆ ออกให้หมดนะครับ (เปิดฝาท่อ)   และก็ต้องทดสอบการระบายน้ำทุกจุดที่มี Floor Drain (ท่อระบายน้ำ)   เช่น   ห้องน้ำ &nb sp; ในระเบียง
พื้นกระเบื้อง (ส่วนของห้องรับแขก   ห้องน้ำ  ระเบียง   และรวมถึงกระเบื้องผนังด้วยนะครับ)
กระเบื้องต้องปูเต็ม  หมายความว่าต้องใช้ปูนกาวปูเต็ม  ทดสอบได้โดยใช้ไม้หรือเหรียญเคาะก็ได้ครับ   เคาะลงไป   เสียงต้องเต็ม – ต้องแน่น   ไม่โปร่ง (กร๊องแกร๊ง)   เพราะถ้าปูไม่เต็มจะมีปัญหาเรื่องกระเทาะล่อนตามมาภายหลังในระยะเวลาหลาย ๆ ปีหลังจากใช้งาน   ซึ่งถ้ามีปัญหากระเบื้องกระเทาะภายหลัง   ต้องให้ช่างรื้อปูใหม่ทั้งห้อง !!!  เลยนะครับ (อันนี้ประสบการณ์ตรง ตอนเป็นวัยรุ่น   ไม่ตรวจไรเลย   แค่เห็นห้องก็ดีใจแล้ว : แต่จริง ๆ ตอนนี้ก็ยังวัยรุ่นอยู่นะ wink)   ทำไมต้องปูใหม่ทั้งห้อง ?   ก็เพราะอากาศที่อยู่ภายในพื้นมันจะลามไปเรื่อย ๆ   ถ้านึกไม่ออกให้นึกถึงหนังแบบแผ่นดินแยก แล้วมันก็ลามกันไปเยอะ ๆ อ่ะครับ (เกี่ยวกันมั้ยเนี่ย !!!)   เพราะฉะนั้นเสียเวลาเคาะหน่อย (เคาะมันทุกแผ่นเลย) ก็ดีครับ  
แล้วก็เรื่องสีของกระเบื้อง   ตรวจด้วยนะครับว่าสี / ลายเดียวกันหรือเปล่า   เพราะกระเบื้องบางแผ่นรุ่นเดียวกันแต่ผลิตคนละลอต   สีต่างกันนะครับ
พื้นไม้ลามิเนต / engineering wood
ตรวจยังไง ?   ตรวจง่าย ๆ ครับด้วยการเดิน   เดินมันให้ทั่วห้องนั่นแหละ   คือต้องรู้สึกว่าเดินแล้วต้องสบายเท้า / ไม่ยวบ   ตรงไหนที่เดินแล้วยวบ ก็ใช้สติ๊กเกอร์มาร์คไว้ให้ทางโครงการแก้   ซึ่งสาเหตุก็เนื่องมาจากการปรับระดับไม่ดี   ปรับปูนทรายไม่ได้ระดับ   ที่สำคัญหากเดินแล้วยวบนี่ คุณผู้หญิงห้ามจิตตกแล้วคิดในใจเป็นเพราะมวลกายชั้นหรือเปล่า   อย่าได้อายช่างครับ   ไม่ได้เป็นเพราะน้ำหนักคุณ   เรียกช่างรื้อด่วน

ปล.  อย่าลืมสังเกตความเรียบร้อยของรอยต่อด้วยนะครับ

การปูพื้นไม้ลามิเนต แผ่นโฟมกันความชื้น





ต่อมาเรื่องที่ 2 ครับ เรื่องของฝ้า   ผนังและช่องเปิด
1.   ให้สังเกตเรื่องสีฝ้า   ว่าสีที่ทาสม่ำเสมอกันหรือไม่    รอยต่อที่เป็นตะเข็บ / เป็นคลื่นจนน่าเกลียดไปหรือเปล่า   แล้วก็ถือโอกาสดูดวงโคมไฟด้วยว่าถูกต้องตาม Spec. / ตำแหน่งในแบบหรือเปล่า ขอบดาวน์ไลท์รู้จักกันฝ้ามานานแล้ว (สนิท) หรือยัง
2.   ผนัง   ที่ต้องเช็คแน่ ๆ ก็คือ   งานฉาบ – ทาสี  
ก็ให้ดูเรื่องรอยร้าว – ความสม่ำเสมอของสีนะครับ   แล้วงานฉาบลองเคาะดูว่าผิวฉาบมีรอยโปร่งหรือเปล่า (ตรวจประมาณเดียวกันกับงานกระเบื้องนะครับ)  
3.   ช่องเปิด   หมายความว่า   ประตู – หน้าต่าง – ช่องระบายอากาศจากห้องน้ำ (บางแห่งมี เช่น LPN)
ประตูและหน้าต่าง   ให้ดูว่าติดตั้งดีเรียบร้อยหรือไม่   ได้ดิ่ง – ได้ฉาก – ได้ระนาบหรือเปล่า แล้วก็
ให้ลองเปิด – ปิด   เพื่อดูว่าลื่นไหลคล่องตัว หรือฝืดเกินไปหรือเปล่า   มีโอกาสตกรางหรือไม่ (สำหรับบานเลื่อน)   มีเสียงดังหรือป่าว   แล้วก็ในส่วนของบานกระจกใสป่าว หรือมีรอยที่น่าเกลียดเกินรับได้มั้ย (บาง Dev. ปิดสติ๊กเกอร์กันรอยมาให้เลย ก็ดีไปอย่างครับ) 
ช่องตาแมวที่ติดอยู่กับประตูหน้าห้อง   ให้ลองส่องดูว่าชัดเจนดีไหม  เวลาส่องก็ให้ส่องสองทางนะครับ   คือหมายความว่าเล็งจากข้างในห้องต้องเห็นข้างนอก   และเวลาเล็งจากข้างนอกต้องไม่เห็นข้างใน   คือเพื่อเช็คน่ะครับว่าช่างติดผิดด้านอ่ะเปล่า   แทนที่เราจะเห็นแขก กลายเป็นแขกเห็นเราซะยังงั้น   และก็ไอ้ช่องตาแมวเนี่ยมีรอบขีดข่วนหรือป่าว   ประมาณนี้ครับ
ส่วนที่บานพับ   ถ้าละเอียดจริงก็ให้เช็คว่าติดสกรูยึดครบทุกตัวทุกบานหรือเปล่านะครับ   จริง ๆ ก็ควรเช็คแหละมีไม่กี่บานหรอกครับ
แล้วก็ต้องดูการเก็บงานตามรอยซีลระหว่าบานประตู – หน้าต่างว่าซีลซิลิโคนเรียบร้อยหรือไม่   มีรู   มีรอยตรงไหนหรือเปล่า เพราะถ้าฝนตกหนัก ๆ แล้วซีลไม่ดีอาจมีน้ำซึมเข้ามานะครับ   ถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้ชะโงกดูผนังภายนอกห้องด้วยนะ   บางทีแผล pre-cast ข้างนอกนูนเชียว   รวมทั้งรอบ ๆ วงกบหน้าต่าง รวมถึงคิ้วปูนหน้าต่าง  ให้เช็คด้วยนะครับว่าเรียบร้อยดีหรือไม่   เพราะจะเป็นจุดที่น้ำฝนจะซึมเข้ามาในห้องได้เหมือนกัน
สุดท้ายของเรื่องนี้แถมให้สำหรับราวระเบียงด้านนอก   ให้ลองจับโยกดูว่าติดตั้งอย่างดีแน่นหนาหรือไม่   มีไหวมีคลอนหรือเปล่า


ส่วนเคาน์เตอร์ครัว   เฟอร์นิเจอร์ Built in  รวมถึงสุขภัณฑ์ต่างๆ
ก็ให้ตรวจทีละอย่าง   ก็ดูว่าติดตั้งครบตาม layout / spec. วัสดุตรงกับที่ระบุในสัญญามั้ย (อันนี้ต้องเข้มงวดตั้งแต่ตอนเซ็นสัญญาแล้วนะครับ)   ในภาพรวมก็ให้ตรวจดูวัสดุว่าเรียบร้อยหรือไม่   ถ้าเป็นคอนโดฯ ที่ราคาไม่ค่อยสูงนักก็นิยมใช้ไม้ MDF ปิดผิวก็ให้ดูว่าปิดผิวของเคาน์เตอร์ครัวสนิทดีมั้ย   มีส่วนไหนเผยอ ไม่เรียบหรือเปล่า   ส่วนถ้าเป็น top หินแท้ / เทียม / สังเคราะห์ก็ดูความเรียบเนียน   ดูว่ามีตรงไหนบิ่นหรือเปล่า (โดยมากจะเรียบร้อยดีนะครับ)   ลองก็เลื่อนบานประตูเปิด   ลองเปิด – ปิดดูว่าพอดีกันหรือไม่   อันนี้พูดถึงที่เป็น soft close ด้วยนะครับ   บาง case อาจปิดไม่สนิทก็ได้   ส่วนเรื่องอื่น ๆ ตามนี้เลยครับ
1.  ตู้ลอยเหนือเคาน์เตอร์ครัวก็ให้ทดสอบดูว่าติดตั้งแน่นหนาปลอดภัยหรือไม่   รับน้ำหนักได้มากน้อยแค่ไหน   เพราะคุณผู้หญิงบางท่านก็ชอบซื้อของ sale ที่ไม่ค่อยได้กิน / ไม่ค่อยได้ใช้มาเก็บไว้ในตู้ก็เยอะ   ทดสอบการแบกรับน้ำหนักหน่อยก็ดีครับ   แล้วก็ตรวจสอบรอยซีลว่าเก็บงานเรียบร้อยดีหรือเปล่า
2.  ส่วนเตาไฟฟ้าแล้วก็เครื่องดูดควัน   ตรวจสอบโดยใช้งานจริงเลยก็ได้ครับ   แต่ไม่ต้องถึงขนาดผัดกระเพราให้เจ้าหน้าที่โครงการกินนะครับ
3.  พวกก็อก – สายฝักบัว – สายฉีดน้ำ มีน้ำรั่วป่าว   แล้วเวลาเปิดหรือฉีดมีน้ำออกมามั้ย   ไรงี้ครับ   ส่วนเวลาเข้าไปตรวจห้องน้ำ   ถ้าบังเอิญได้ไปตรวจรับกับ Mr. Oe   ก็ทำตามนี้ได้เลยครับ
-  วัดขนาดห้องอาบน้ำว่า เพียงพอต่อการอาบสองคนได้ป่าว
-  ถ้าไม่มีไรจะตรวจแล้ว   ก็เอาสบู่ที่เตรียมมาโยนลงพื้นเลยครับ   (แซวกันจัง   แซวจนผมคิดว่าแกเป็นจริงแล้วนะเนี่ย devil)
4.   ส่วนพวกคาน์เตอร์อ่างล้างหน้า - อ่างล้างจาน   การเก็บงานรอยซีลเต็มครบหรือไม่   เกือบลืมครับอย่าลืม test ว่ารั่วมั้ยด้วย   ก็ให้ใช้จุกยางปิดขังน้ำให้น้ำปริ่ม ๆ อ่าง   ซึ่งตรงด้านบน ๆ จะมีช่องระบายน้ำอยู่  เป็นรูลักษณะทรงรี ๆ หลาย ๆ ช่องอ่ะครับ อธิบายไม่ถูก   ถ้านึกไม่ออกก็ลองเดินไปดูในครัวตัวเองนะครับ)  เพื่อดูว่า P – Trap ใต้อ่างใช้การได้หรือเปล่า หรือรั่วมั้ยนั่นเอง
5.   โถสุขภัณฑ์   ให้ตรวจว่ามีการซีลฐานเต็มหรือเปล่า   แน่นมั้ย    ก็ลองขยับดูด้วยนะครับว่ามันจะโยก ๆ หรือไม่แน่น   ลองนึกภาพตามนะครับ   แบบเวลาเรานั่งแล้วเอื้อมไปหยิบหนังสือ   ถ้ามันไม่แน่นพออาจเกิดการพลิกคว่ำ  หูย ได้พอกขมิ้นกันทีเดียวเชียว (ใครทานข้าวอยู่ ขอโทษด้วยครับ แค่อยากให้เห็นความเสี่ยงน่ะครับ surprise)   และก็ให้ทดสอบการใช้งานเบื้องต้น   โดยอาจใช้ขนมปังหรือทิชชู่เป็นตัวแทนของสิ่งที่คุณก็รู้ว่าอะไร   ก็ให้หยอดไปในชักโครกนะครับ    แล้วก็กดชักโครกดูว่าเป็นยังไงบ้าง   ลง smooth ดีหรือเปล่า (อันนี้ไม่ได้ล้อเล่นนะ   ต้อง test จริง ๆ)


สุดท้ายแล้วครับ   เรื่องงานระบบ (น้ำ – ไฟ)
เรื่องของระบบน้ำ   ให้ทดสอบเปิดก็อกน้ำทุกจุด   แล้ววิ่งไปดูที่มิเตอร์ว่าหมุนเร็วมากน้อยแค่ไหน   หรือถ้าเราปิดน้ำหมดทุกก็อกทุกวาล์วทุกจุดแล้ว   มิเตอร์หยุดหรือเปล่า   ถ้าไม่หยุด .... แปลว่า .... เราดูมิเตอร์ผิดห้อง   ไม่ใช่ละ   ถ้ามิเตอร์ยังวิ่งอยู่ก็แปลว่าท่อน้ำที่ฝังอาจจะรั่วนะครับ   ก็ต้องให้ช่างหาจุดที่รั่วเพื่อแก้ไขนะครับ   (ถ้าไม่รู้ว่ามิเตอร์ประปาอยู่ตรงจุดไหน  ลองถามเจ้าหน้าที่ดูครับ)
ส่วนระบบไฟนะครับ   ก็ให้ตรวจตามแบบดูว่าดวงไฟ และปลั๊กไฟครบทุกจุดตามที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือไม่   จากนั้นก็ให้ทดสอบการใช้งานนะครับ   ไฟ Down Light นี่ง่ายหน่อยแค่ดูว่าเปิดติดหรือไม่   มาที่ส่วนของเต้ารับ   อันนี้ต้องหาอุปกรณ์มาช่วย (อย่าเอานิ้วไปแหย่ล่ะ ประมาณว่าถ้าไฟดูดคือโอเคร)   หรือบางทีช่าง / เจ้าหน้าที่ที่พาเราไปตรวจรับจะมีอุปกรณ์เช็คมาให้ (ไขควงวัดไฟ)    แต่ถ้าเตรียมไปก่อนก็ดีนะครับ   บางคนละเอียดถึงขั้นเปิดแงะหน้ากากออกมาเพื่อดูว่างานข้างในเรียบร้อยหรือไม่   เพราะบางที่บางแห่งเปิดมาแล้วเจอเศษปูน – เศษขยะ – กระดาษอยู่ข้างใน   อันนี้แล้วแต่ความสะดวกนะครับ   แล้วก็ให้สังเกตความสะอาดรอบขอบหน้ากากโดยทั่วไปนะครับ   แล้วก็เช็คว่าติดตรง / เบี้ยวหรือไม่ บางทีมีสลับบน - ล่างด้วยนะ แบบอ่านยี่ห้อต้องตีลังกากลับหัวอ่านอ่ะครับ
แล้วก็อย่าลืมสังเกตพวก Smoke / Heat detector,  Fire Alarm และก็ Springer ด้วย  แต่เราก็คงได้แค่ตรวจดูว่ามันมีหรือเปล่า   คงไม่สามารถทดลองใช้งานได้ หรือสามารถเช็คได้ อันนี้ผมไม่รู้อ่ะ   ยังไงวานผู้รู้ช่วยตอบหน่อยนะครับ
อ้อ แล้วก็เรื่องไฟฟ้านี่ ก็ต้องตรวจเกี่ยวกับมิเตอร์ด้วยเหมือนกันนะครับว่าหมุนเร็วมากน้อยแค่ไหน เมื่อใช้งานเต็มที่   แล้วก็เมื่อปิดหมดแล้ว   มิเตอร์ยังหมุนอยู่หรือเปล่า  ทำนองเดียวกันกับมิเตอร์น้ำน่ะครับ
ส่วนสัญญาณโทรศัพท์ - โทรทัศน์ นี่ก็ต้องใช้เครื่องมือของจริงทดสอบ ไม่แน่ใจว่าบางโครงการมีการทดสอบให้ลูกค้าตอนตรวจรับมอบห้องหรือป่าว

ขอบคุณ LessispoR , youtube.com ,checkraka.com

ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง  
 1. ตรวจรับคอนโด
 2. รีวิวจากพันทิพ
 3. เว็บบอร์ด

0 ความคิดเห็น:

Tags

Link list